Sport Sponsorship
5. การเป็นผู้สนับสนุนสนามแข่งขันกีฬา ( Facility Sponsorship) ลักษณะการเป็นผู้สนับสนุนแบบนี้จะพบบ่อยทีสุดในการให้สิทธิ์ การตั้งชื่อสปอนเซอร์เป็นชื่อสนามแข่งขัน เรียกว่า Naming Rights Agreement คือให้เงินสนับสนุน เพื่อแลกสิทธิประโยชน์ทีสำคัญคือการมีชื่อร่วมกับสนามแข่งขัน อย่างเช่น เอส ซี จี เมืองทอง สเตเดียม หรือ ไอ โมบาย สเตเดียม ระยะเวลาของสัญญาการทำสัญญาจะต้องมีกำหนดเวลา ไม่น้อยกว่า 10 ปี ถึงจะคุ้มค่าในการลงทุน ต่อแบรนด์สินค้า
ประโยชน์ของการเป็นผู้สนับสนุนประเภทนี้คือ
การสร้างการเปิดเผยแบรด์ต่อสาธารณชน ( Brand Exposure ) ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่กลุ่มคนดู เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการรับรู้ของประชาชนทีสัญจรไปมา ผ่านหน้าสนามกีฬาให้เป็นทีจดจำอีกด้วย และวิธีการสร้างแบรนด์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผู้สนับสนุนจะต้องบังคับใช้ สีประจำของแบรด์
โลโก้ของแบรด์ และ สโลแกนของแบรนด์ ฯลฯ ในการตกแต่งสนามแข่งขันทั้งภายในและภายนอกให้ขนาดชัดเจน ( Sizing Impact ) และต้องกระจายทั่วสนาม ( Reinforce Memory ) ผ่านสื่อต่างๆบริเวณสนาม เพื่อเป็นการตอกย้ำความทรงจำอย่างถาวร ไปจุดไหน ก็ต้องเห็นแบรนด์ตลอด เมื่อไรก็ตามทีสัญญาการเป็นผู้สนับสนุนสิ้นสุดลง สนามกีฬาแห่งนี้จะถูกจดจำในชื่อแบรนด์สินค้าเดิมคู่กับสนามกีฬาไป อีกยาวนาน
6. การเป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขัน ( Event Sponsorship ) ลักษณะการเป็นผู้สนับสนุนประเภทนี้จะพบเห็นได้บ่อยๆในกีฬากือบทุกประเภท
เพราะบริษัทผู้สนับสนุนจะเลือกเฉพาะรายการกีฬาทีสนใจและมีคนดูแน่นอน โดยมูลค่าของเงินสนับสนุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิทธิประโยชน์ทีต้องการได้รับ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นผู้สนับสนุนหลัก (
Title Sponsor )
ก็จะได้สิทธิประโยชน์มากทีสุด เช่น การมีชื่อสินค้าร่วมในชื่อรายการแข่งขัน
อย่างเช่น เช่น สิงห์ ไทยแลนด์โอเพ่น หรือ ไทยคม เอฟเอ คัพ ประโยชน์ทีผู้สนับสนุนคือการได้โฆษณา ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ถ่ายทอดสดผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพิ์ เป็นต้น
7. การเป็นผู้สนับสนุนกีฬาชนิดพิเศษ ( Sport-Specific Sponsorship ) ถ้าบริษัทเลือกการเป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบนี้ บริษัทผู้สนับสนุนจะต้องมีตัดสินใจแน่วแน่ ว่าจะเลือกการใช้กลยุทธ์การตลาดผ่านกีฬาชนิดเดียวเท่านั้น จะเปลี่ยนใจไปเป็นผู้สนับสนุนหลายๆ ประเภทกีฬาไม่ได้ เพราะเหตุผลทีสำคัญคือการวางตำเเหน่งสินค้าและกีฬา เป็นจุดขายเดียวกัน
บริษัทผู้สนับสนุนมีความเชื่อว่า การทำโครงกสร้างการสร้างแบรนด์ ( brand architecture ) จะสร้างจุดเด่นของแบรนด์สินค้าในการเชื่อมโยงกับประโยชน์ของกีฬานั้น หรืออีกแง่หนึ่งคือ การสร้างความแตกต่างของสินค้าตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งในกลุ่มสินค้าเดียวกัน ยกอย่างเช่น รายการแข่งขันเพื่อค้นหาผู้ชายทีเเข็งแรงทีสุดในโลก หรือ
The World's Strongest Man ซึ่งมีสินค้าประเภทอาหารเสริมทีเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขันเป็นเจ้าแรกและเป็นเจ้าเดียว ( Exclusive Sponsorship ) คือ อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับนักเพาะกาย ทีชื่อว่า MET-Rx เพราะการโฆษณาให้เห็นประโยชน์ของสินค้าอย่างจับต้องได้นั้นต้องมีข้อพิสูจน์ให้เชื่อ ดั้งนั้นการเซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขันผู้ัชายทีเเข็งแรงทีสุดในโลกจะส่งเสริมการสร้าง อัตลักษณ์ของแบรนด์ ( Brand Identity ) กับ ลักษณะพิเศษเฉพาะของกีฬาให้กลุ่มเป้าหมายเชื่อและทดลองใช้สินค้าได้อย่างง่ายดาย บริษัทผู้สนับสนุนมีความเชื่อว่า การทำโครงกสร้างการสร้างแบรนด์ ( brand architecture ) จะสร้างจุดเด่นของแบรนด์สินค้าในการเชื่อมโยงกับประโยชน์ของกีฬานั้น หรืออีกแง่หนึ่งคือ การสร้างความแตกต่างของสินค้าตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งในกลุ่มสินค้าเดียวกัน ยกอย่างเช่น รายการแข่งขันเพื่อค้นหาผู้ชายทีเเข็งแรงทีสุดในโลก หรือ
เเละก่อนจบตอนที 2 ก็อยากอธิบายศัพท์ sponsor หมายถึง บุคคลหรือบริษัท ก็ได้ ทีออกค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดกิจกรรมหรือการแข่งขันกีฬา เพื่อแลกสิทธิประโยชน์ตอบแทนในการโฆษณา และประชาสัมพันธ์สินค้า ระหว่างทีมีการจัดกิจกรรมหรือการแข่งขัน
( spon·sor: a person or organization that pays the cost of an activity or event in return for the right to advertise during the activity or event ) และในตอนที 3 จะอธิบาย การตั้งราคาผู้สนับสนุนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์
ขออนุญาตท่านนำความรู้นี้ไปสอนนักศึกษาต่อนะคะ ขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ตอบลบ