Translate

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การหา Sport Sponsorship ไม่ได้ยากอย่างทีคิด.....(ตอนที 1)

Sport Sponsorship 


การหาผู้สนับผู้สนับสนุนกีฬาไม่ได้ยากอย่างทีคิด... เป็นส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ทีต้องช่วยหาสปอนเซอร์ให้กับองค์กรกีฬาต่างๆ ในช่วง 5 ปีทีผ่านมามีมูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาท และหัวข้อนี้ก็เป็นทีสนใจในหมู่ผู้ทีเรียนในสาขาการจัดการกีฬาในหลายๆสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ ดั้งนั้นจึงคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องนี้เพื่อเป็นแนวทางแบบง่ายๆให้ผู้ทีสนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน เพราะองค์กรกีฬาไม่สามารถจะพัฒนาศักยภาพของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ( Elite Sport ) หรือ เพื่อความเป็นอาชีพ ( Professional Sport )ได้โดยอาศัยแค่เงินสนับสนุนประจำปีจาก การกีฬาแห่งประเทศไทยเพียงเท่านั้น 
ดั้งนั้นองค์กรกีฬาต้องพยายามทีจะแสวงหางบประมาณด้วยตัวเอง เพื่อมาสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันกีฬาต่างๆ โดยพยายามเชิญชวนให้องค์กรชั้นนำในประเทศไทย ทีมีนโยบายส่งเสริมภาพพจน์ขององค์กรผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม ( Corporate Social Responsibility )ให้เข้าเป็นสปอนเซอร์ เพียงแต่การจะได้รับเงินสนับสนุนหรือไม่นั้นต้องอยู่ทีวิธีการในการนำเสนอในรูปแบบการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า การร้องขอความเห็นอกเห็นใจ หรือ การใชัความสนิทสนมส่วนบุคคล

ในต่างประเทศ ผู้ทีทำหน้าทีหาเงินจากผู้สนับสนุนกีฬานั้นให้ความสำคัญเรื่องการเตรียมข้อมูลด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลด้านกลุ่มผู้เข้าชมกีฬา เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ฯลฯ เพื่อแสดงให้เห็นผลประโยชน์ทางการตลาดในอนาคตทีผู้สนับสนุนจะได้รับจากการลงทุน ( Return on Investment ) ในการเข้ามาสนับสนุนกีฬา ดั้งนั้นจึงมีหนังสือมากมายทีเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในต่างประเทศ เเต่จะขอเลือกหนังสือเล่มทีชื่อว่า The sponsorship seeker’s toolkit  โดย Kim Skildum-Reid & Anne-Marie Grey, 2008, 3rd) เป็นกรอบในการอธิบายเพราะสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง 
ความรู้ประการแรกคือต้องเข้าใจรูปแบบความแตกต่างของการเป็นผู้สนับสนุนกีฬานั้นมี อยู่ 7 รูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีมูลค่าของการเเลกเปลี่ยนผลประโยชน์และเงินสนับสนุนไม่เท่ากัน

1.      การเป็นผู้สนับสนุนองค์กรกีฬาหรือสมาคมกีฬา (Governing Body–Sponsorship) จะมีมูลค่าค่อนข้างจะสูงมากเพราะต้องมีกำหนดเวลาหลายปีเช่น 2-5 ปี เพราะผู้สนับสนุนประเภทนี้สามารถใช้สิทธิประโยชน์การโฆษณาแบรด์สินค้าในทุกๆรายการแข่งขันทีองค์กรหรือสมาคมนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น บริษัทแกรท์สปอรต์เป็นผู้สนบสนุนเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาให้กับสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประทศไทยอย่างเป็นทางการ
2.      การเป็นผู้สนับสนุนทีมกีฬา (Team Sponsorship) จะมีมูลค่าแพงเฉพาะกีฬาทีเป็นทีนิยมในเมืองไทย เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาวอลเลย์บอล และกีฬาแบดบินตัน เป็นต้น ผู้สนับสนุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการตลาดเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนเองทีให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการและสามารถการขายสินค้าได้ การเป็นผู้สนับสนุนประเภทนี้อาจให้เป็นเงินเพียงบางส่วนก็ได้ และให้สินค้าเป็นการแลกเลี่ยน(Value in Kind) ตัวอย่างเช่น สายการบินแอร์เอซีย เป็นผู้สนับสนุนการเดินทางให้กับ ทีมสโมสรฟุตบอล บุรีรัมท์ 
3.      การเป็นผู้สนับสนุนเฉพาะนักกีฬา ( Athlete Sponsorship ) เป็นทีนิยมของบริษัททีต้องการขายสินค้าโดยใช้ภาพพจน์นักกีฬาทีประสบความสำเร็จ เป็นตัวแทนภาพลักษณ์สินค้า (Brand Ambassador) เพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้บริโภคยอมรับสินค้าเพราะนักกีฬาเหล่านี้สามารถใช้ภาพพจน์ตัวเองทำให้สินค้านั้นเป็นทีรู้จักได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วูด นักกลอฟ์มือหนึ่งของโลก เป็นตัวแทนสินค้านาฬิกาโรเล็กซ์ หรือ โรนัลโด นักฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส และสโมสร เรอัล มาดริด เป็นตัวแทนสินค้า รถโตโยต้าวีโก้ และ ยาสระผมขจัดรังแค เคลียร์ เป็นต้น
4.      การเป็นผู้สนับสนุนการถ่ายทอดสด (Media Sponsorship) ลักษณะการสนับสนุนแบบนี้เป็นทีต้องการของผู้จัดการแข่งขันทุกชนิดกีฬาเพราะเป็นแหล่งรายได้ทีสำคัญขององค์กรกีฬาต่างๆ ทีจะทำเงินได้อย่างมหาศาล เพราะปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจสื่อสาร ( Media Broadcaster ) มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเพราะรัฐบาลต้องการเปิดเสรีของธุรกิจสื่อสารให้ไม่มีการผูกขาด ดั้งนั้นสถานีโทรทัศน์จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะช่องสถานีกีฬา ทั้งรูปแบบจานดาวเทียมและกล่องเคเบิ้ลทีวีแบบสมาชิกรายเดือน รายการกีฬาจัดเป็นรายการทีประชาชนทั้งประเทศสนใจติดตามชมอย่างมากมาย ทำให้ธุรกิจทีมีมูลค่ามากทีสุด ( ติดตามตอนต่อไป )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น