การจัดการกีฬาเป็นพื้นฐานความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ธุรกิจกีฬาของประเทศไทย ให้มีขบวนการวางแผนการจัดการให้เป็นมาตรฐานมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันด้านธุรกิจกีฬาเเละการท่องเที่ยวในเขตการค้าเสรีอาเชี่ยน ในปี 2558
Translate
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การจัดการกีฬา
ปัจจุบันวงการธุรกิจกีฬากำลังการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากจนทำให้มีการกล่าวถึงโอกาสทีจะใช้กีฬาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ในหลายๆมิติ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐบาลสร้างสถานทีออกกำลังกายให้ประชาชนมากเท่าไร ประชาชนก็จะสนใจการออกกำลังกายมากขึ้นเพราะสะดวก เเละเมื่อเริ่มสนุกกับการอออกกำลังกาย ก็จะต้องซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในการออกกำลังกาย เช่น จักรยาน รองเท้าวิ่ง ชุดกีฬา เป็นต้น การใช้จ่ายต่างๆ ก็จะกระตุ้นธุรกิจกีฬาทีเกี่ยวข้องให้สามารถจ้างคนงานเพื่อผลิต หรือให้บริการ และกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจกีฬาก็จะมีรายได้เพื่อเสียภาษีทั้งบริษัทและพนักงานดั้งนั้นจึงเกิดวงจรทางเศรษฐกิจขึ้น ทำให้รัฐบาลได้เงินจากการเก็บภาษีเงินได้กลับมาลงทุนได้อีกต่อไป เเต่ส่วนทีสำคัญทีสุดคือ ประชาชนวัยทำงานได้โอกาสในการมีสุขภาพทีดีและไม่ต้องเสียเงินให้กับค่าใช้จ่ายด้านรักษาสุขภาพ รัฐบาลก็ได้ประโยชน์ในการประหยัดเงินงบประมาณประเทศทีต้องสนับสนุนระบบประกันสุขภาพ และทีสำคัญทีสุดคือโอกาสสำหรับเยาวชนก็จะได้ใช้กีฬาเพื่อการหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงจากการชักชวนให้เสพเหล้า บุหรี่ เเละสารเสพติด เป็นต้น
ดั้งนั้นเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจของธุรกิจกีฬาเดินหน้าอย่างไม่สะดุด จึงจำเป็นทีจะต้องสร้างบุคคลากรเพื่อเข้าไปทำงานในธุรกิจกีฬา ทั้งของภาครัฐบาลและของบริษัทเอกชนอย่างมีระบบ ดั้งนั้นจะเห็นได้ว่ามีสถาบันการศึกษาหลายๆเเห่งได้เปิดหลักสูตร สาขาการจัดการกีฬาขึ้นในคณะทีเเตกต่างกัน เช่น สังกัด คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องทีดีเพราะอาชีพทีเกี่ยวข้องกับธุรกิจกีฬานั้นมีมากมาย เช่น นักการตลาด นักกายภาพ นักโภขนาการ นักกฎหมาย เป็นต้น
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับกลไกในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทีถูกต้องจึงอยากจะสร้างบล็อกเพื่อใช้ในการการอธิบายศัพท์ภาษาอังกฤษ ทีใช้อยู่ในธุรกิจกีฬาอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาสาขาวิชาชีพด้านการจัดการกีฬา sport management ให้เป็นทียอมรับต่อไปในอนาคต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ติดตามอ่านบทความตอนที่ 3 ครับ
ตอบลบ