Translate

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างของความหมายระหว่าง sport management กับ sports management

สวัสดี ครับ

ผมไม่ได้เขียนอะไร มาหลายเดือนแล้ว เพราะก้มหน้าก้มตาหาแนวคิดหนังสือทีอยากจะเขียน จนเพิ่งสรุปได้แล้ว ก็อดใจรอปลายปีนี้ น่าจะเขียน จบเล่ม เพื่อจะใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนในะดับมหาวิทยาลัย ทีเปิดสอน สาขา การจัดการกีฬา

วันนี้จึงอยากจะอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า sport management กับ sports management ซึ่งถ้ามองแบบหลักไวยากรณ์ อาจคิดว่า เป็นรูป เอกพจน์ กับ พหูพจน์  เท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช้แบบนั้น เพราะการใช้คำทีแตกต่างจะทำให้ความหมายแตกต่างกันไปเลย ดั้งนั้น จึงเป็นเรื่องทีอยากจะเขียน

ปัจจุบัน สาขาการจัดการกีฬา ( sport management ) มีเปิดสอนกันอย่างแพร่หลายในระดับอุดมศึกษาแต่ก็มีคำถามว่าควรใช้คำภาษาอังกฤษทีเหมาะสมอย่างไร ระหว่าง sport หรือ sports  ? เพื่อทำให้ไม่สับสนในการเลือกวิชาทีจะเปิดสอนกัน และจะได้เข้าใจความหมายไปแนวทางเดียวกับต่างประเทศ เวลาพัฒนาหลักสูตร ปริญญา ระดับ ตรี โท เอก จะได้ไม่สับสนในบริบท

เวลาทีนักวิชาการต่างประเทศ ใช้คำว่า sport management จะหมายถึง การศึกษาแบบครอบคลุมอย่างกว้าง ในหลายๆบริบททีเกี่ยวกับทฤษฎีและพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับขบวนการการจัดการกีฬาทั่วๆไป เช่น การโฆษณา การตลาด กฏหมาย การเงิน การหาผู้สนับสนุน และอื่นๆ เป็นต้น 

ในทางตรงข้ามกัน ถ้านักวิชาการต่างประเทศใช้คำว่า sports management จะหมายถึง การศึกษาบริบททีจะสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องการจัดการทีเกี่ยวข้องกับกีฬาแต่ละประเภทอย่างลึกและเฉพาะเจาะจงอาจารย์ผู้สอนต้องมีประสพการณ์โดยตรงในกีฬานั้นๆ เช่น การจัดการกีฬาบาสเก็ตบอล การจัดการกีฬาฟุตบอล การจัดการกีฬาเทนนิส การจัดการกีฬากลอฟ์ เป็นต้น

ดั้งนั้นหลักสูตรทั่วไปของ สาขาการจัดการกีฬา ในประเทศไทยควรใช้ภาษาอังกฤษทีเหมาะสมคือ sport management เพราะทุกหลักสูตรมุ่งเน้นการให้ความรู้เรื่องการจัดการกีฬาแบบกว้างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจพื้นฐานและขอบเขตของบริบทต่างๆ ด้านการจัดการกีฬาทีควรรู้แต่ไม่ต้องลงลึกในเฉพาะกีฬา

แต้่ถ้าหลักสูตรทีเปิดสอนต้องการเปิดสอนวิชาเฉพาะกีฬาๆ ไป โดยมีความต้องการทีจะผลิตบัณฑิตเพื่อสามารถประกอบวิชาชีพโดยตรงในประเภทกีฬาชนิดหนึ่ง ชนิดใดได้เลย เช่น การจัดการกีฬากลอฟ์ หรือ การจัดการกีฬาฟุตบอล เหมือนอย่างหลักสูตรที มหาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ก็ควรใช้ภาษาอังกฤษว่า sports management ถึงแม้นว่า จะเปิดสอนกีฬาเดียวก็สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้เลย เพราะในอนาคตอาจจะเพิ่มสาขากีฬาอื่นๆ ทีธุรกิจกีฬาต้องการได้อีก แต่จะทำให้การออกแบบหลักสูตรวิชาพื้นฐานและวิชาเฉพาะกีฬาได้อย่างชัดเจนชัดเจนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี เป็นต้น

หวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์ และต่อจากนี้ไป ก็ช่วยๆกันใช้ให้ถูกต้องด้วยกันนะครับ เจอกับ คำว่า administration กับ management ในครั้งต่อไป

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การหา Sport Sponsorship ไม่ได้ยาก อย่างทีคิด.......( ตอน2)


Sport Sponsorship 

5.     การเป็นผู้สนับสนุนสนามแข่งขันกีฬา  ( Facility Sponsorship) ลักษณะการเป็นผู้สนับสนุนแบบนี้จะพบบ่อยทีสุดในการให้สิทธิ์ การตั้งชื่อสปอนเซอร์เป็นชื่อสนามแข่งขัน เรียกว่า Naming Rights Agreement คือให้เงินสนับสนุน เพื่อแลกสิทธิประโยชน์ทีสำคัญคือการมีชื่อร่วมกับสนามแข่งขัน อย่างเช่น เอส ซี จี เมืองทอง สเตเดียม หรือ ไอ โมบาย สเตเดียม ระยะเวลาของสัญญาการทำสัญญาจะต้องมีกำหนดเวลา ไม่น้อยกว่า 10 ปี ถึงจะคุ้มค่าในการลงทุน ต่อแบรนด์สินค้า
ประโยชน์ของการเป็นผู้สนับสนุนประเภทนี้คือ การสร้างการเปิดเผยแบรด์ต่อสาธารณชน ( Brand Exposure ) ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่กลุ่มคนดู เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการรับรู้ของประชาชนทีสัญจรไปมา ผ่านหน้าสนามกีฬาให้เป็นทีจดจำอีกด้วย และวิธีการสร้างแบรนด์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผู้สนับสนุนจะต้องบังคับใช้ สีประจำของแบรด์ โลโก้ของแบรด์ และ สโลแกนของแบรนด์ ฯลฯ ในการตกแต่งสนามแข่งขันทั้งภายในและภายนอกให้ขนาดชัดเจน ( Sizing Impact ) และต้องกระจายทั่วสนาม ( Reinforce Memory ) ผ่านสื่อต่างๆบริเวณสนาม เพื่อเป็นการตอกย้ำความทรงจำอย่างถาวร ไปจุดไหน ก็ต้องเห็นแบรนด์ตลอด เมื่อไรก็ตามทีสัญญาการเป็นผู้สนับสนุนสิ้นสุดลง สนามกีฬาแห่งนี้จะถูกจดจำในชื่อแบรนด์สินค้าเดิมคู่กับสนามกีฬาไป อีกยาวนาน

6.   การเป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขันEvent Sponsorship ) ลักษณะการเป็นผู้สนับสนุนประเภทนี้จะพบเห็นได้บ่อยๆในกีฬากือบทุกประเภท เพราะบริษัทผู้สนับสนุนจะเลือกเฉพาะรายการกีฬาทีสนใจและมีคนดูแน่นอน โดยมูลค่าของเงินสนับสนุนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิทธิประโยชน์ทีต้องการได้รับ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นผู้สนับสนุนหลัก ( Title Sponsor ) ก็จะได้สิทธิประโยชน์มากทีสุด เช่น การมีชื่อสินค้าร่วมในชื่อรายการแข่งขัน อย่างเช่น เช่น สิงห์ ไทยแลนด์โอเพ่น หรือ ไทยคม เอฟเอ คัพ ประโยชน์ทีผู้สนับสนุนคือการได้โฆษณา ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ถ่ายทอดสดผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อหนังสือพิมพิ์ เป็นต้น

7.  การเป็นผู้สนับสนุนกีฬาชนิดพิเศษ ( Sport-Specific Sponsorship ) ถ้าบริษัทเลือกการเป็นผู้สนับสนุนในรูปแบบนี้ บริษัทผู้สนับสนุนจะต้องมีตัดสินใจแน่วแน่ ว่าจะเลือกการใช้กลยุทธ์การตลาดผ่านกีฬาชนิดเดียวเท่านั้น จะเปลี่ยนใจไปเป็นผู้สนับสนุนหลายๆ ประเภทกีฬาไม่ได้ เพราะเหตุผลทีสำคัญคือการวางตำเเหน่งสินค้าและกีฬา เป็นจุดขายเดียวกัน 
บริษัทผู้สนับสนุนมีความเชื่อว่า การทำโครงกสร้างการสร้างแบรนด์ ( brand architecture ) จะสร้างจุดเด่นของแบรนด์สินค้าในการเชื่อมโยงกับประโยชน์ของกีฬานั้น หรืออีกแง่หนึ่งคือ การสร้างความแตกต่างของสินค้าตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งในกลุ่มสินค้าเดียวกัน  ยกอย่างเช่น รายการแข่งขันเพื่อค้นหาผู้ชายทีเเข็งแรงทีสุดในโลก หรือ 
The World's Strongest Man ซึ่งมีสินค้าประเภทอาหารเสริมทีเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขันเป็นเจ้าแรกและเป็นเจ้าเดียว ( Exclusive Sponsorship ) คือ อาหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อสำหรับนักเพาะกาย ทีชื่อว่า MET-Rx เพราะการโฆษณาให้เห็นประโยชน์ของสินค้าอย่างจับต้องได้นั้นต้องมีข้อพิสูจน์ให้เชื่อ ดั้งนั้นการเซ็นสัญญาเป็นผู้สนับสนุนรายการแข่งขันผู้ัชายทีเเข็งแรงทีสุดในโลกจะส่งเสริมการสร้าง อัตลักษณ์ของแบรนด์ ( Brand Identity ) กับ ลักษณะพิเศษเฉพาะของกีฬาให้กลุ่มเป้าหมายเชื่อและทดลองใช้สินค้าได้อย่างง่ายดาย 

เเละก่อนจบตอนที 2 ก็อยากอธิบายศัพท์ sponsor หมายถึง บุคคลหรือบริษัท ก็ได้ ทีออกค่าใช้จ่ายเพื่อการจัดกิจกรรมหรือการแข่งขันกีฬา เพื่อแลกสิทธิประโยชน์ตอบแทนในการโฆษณา และประชาสัมพันธ์สินค้า ระหว่างทีมีการจัดกิจกรรมหรือการแข่งขัน
( spon·sor: a person or organization that pays the cost of an activity or event in return for the right to advertise during the activity or event ) และในตอนที 3 จะอธิบาย การตั้งราคาผู้สนับสนุนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์ 


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การหา Sport Sponsorship ไม่ได้ยากอย่างทีคิด.....(ตอนที 1)

Sport Sponsorship 


การหาผู้สนับผู้สนับสนุนกีฬาไม่ได้ยากอย่างทีคิด... เป็นส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ทีต้องช่วยหาสปอนเซอร์ให้กับองค์กรกีฬาต่างๆ ในช่วง 5 ปีทีผ่านมามีมูลค่าเกินกว่า 200 ล้านบาท และหัวข้อนี้ก็เป็นทีสนใจในหมู่ผู้ทีเรียนในสาขาการจัดการกีฬาในหลายๆสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ฯลฯ ดั้งนั้นจึงคิดว่าน่าจะเขียนเรื่องนี้เพื่อเป็นแนวทางแบบง่ายๆให้ผู้ทีสนใจสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน เพราะองค์กรกีฬาไม่สามารถจะพัฒนาศักยภาพของกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ( Elite Sport ) หรือ เพื่อความเป็นอาชีพ ( Professional Sport )ได้โดยอาศัยแค่เงินสนับสนุนประจำปีจาก การกีฬาแห่งประเทศไทยเพียงเท่านั้น 
ดั้งนั้นองค์กรกีฬาต้องพยายามทีจะแสวงหางบประมาณด้วยตัวเอง เพื่อมาสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขันกีฬาต่างๆ โดยพยายามเชิญชวนให้องค์กรชั้นนำในประเทศไทย ทีมีนโยบายส่งเสริมภาพพจน์ขององค์กรผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม ( Corporate Social Responsibility )ให้เข้าเป็นสปอนเซอร์ เพียงแต่การจะได้รับเงินสนับสนุนหรือไม่นั้นต้องอยู่ทีวิธีการในการนำเสนอในรูปแบบการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่า การร้องขอความเห็นอกเห็นใจ หรือ การใชัความสนิทสนมส่วนบุคคล

ในต่างประเทศ ผู้ทีทำหน้าทีหาเงินจากผู้สนับสนุนกีฬานั้นให้ความสำคัญเรื่องการเตรียมข้อมูลด้านต่างๆ เช่น ข้อมูลด้านกลุ่มผู้เข้าชมกีฬา เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ฯลฯ เพื่อแสดงให้เห็นผลประโยชน์ทางการตลาดในอนาคตทีผู้สนับสนุนจะได้รับจากการลงทุน ( Return on Investment ) ในการเข้ามาสนับสนุนกีฬา ดั้งนั้นจึงมีหนังสือมากมายทีเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในต่างประเทศ เเต่จะขอเลือกหนังสือเล่มทีชื่อว่า The sponsorship seeker’s toolkit  โดย Kim Skildum-Reid & Anne-Marie Grey, 2008, 3rd) เป็นกรอบในการอธิบายเพราะสามารถนำไปปฎิบัติได้จริง 
ความรู้ประการแรกคือต้องเข้าใจรูปแบบความแตกต่างของการเป็นผู้สนับสนุนกีฬานั้นมี อยู่ 7 รูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีมูลค่าของการเเลกเปลี่ยนผลประโยชน์และเงินสนับสนุนไม่เท่ากัน

1.      การเป็นผู้สนับสนุนองค์กรกีฬาหรือสมาคมกีฬา (Governing Body–Sponsorship) จะมีมูลค่าค่อนข้างจะสูงมากเพราะต้องมีกำหนดเวลาหลายปีเช่น 2-5 ปี เพราะผู้สนับสนุนประเภทนี้สามารถใช้สิทธิประโยชน์การโฆษณาแบรด์สินค้าในทุกๆรายการแข่งขันทีองค์กรหรือสมาคมนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ตัวอย่างเช่น บริษัทแกรท์สปอรต์เป็นผู้สนบสนุนเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาให้กับสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประทศไทยอย่างเป็นทางการ
2.      การเป็นผู้สนับสนุนทีมกีฬา (Team Sponsorship) จะมีมูลค่าแพงเฉพาะกีฬาทีเป็นทีนิยมในเมืองไทย เช่น กีฬาฟุตบอล กีฬาวอลเลย์บอล และกีฬาแบดบินตัน เป็นต้น ผู้สนับสนุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการตลาดเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนเองทีให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการและสามารถการขายสินค้าได้ การเป็นผู้สนับสนุนประเภทนี้อาจให้เป็นเงินเพียงบางส่วนก็ได้ และให้สินค้าเป็นการแลกเลี่ยน(Value in Kind) ตัวอย่างเช่น สายการบินแอร์เอซีย เป็นผู้สนับสนุนการเดินทางให้กับ ทีมสโมสรฟุตบอล บุรีรัมท์ 
3.      การเป็นผู้สนับสนุนเฉพาะนักกีฬา ( Athlete Sponsorship ) เป็นทีนิยมของบริษัททีต้องการขายสินค้าโดยใช้ภาพพจน์นักกีฬาทีประสบความสำเร็จ เป็นตัวแทนภาพลักษณ์สินค้า (Brand Ambassador) เพื่อโฆษณาชวนเชื่อให้ผู้บริโภคยอมรับสินค้าเพราะนักกีฬาเหล่านี้สามารถใช้ภาพพจน์ตัวเองทำให้สินค้านั้นเป็นทีรู้จักได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น ไทเกอร์ วูด นักกลอฟ์มือหนึ่งของโลก เป็นตัวแทนสินค้านาฬิกาโรเล็กซ์ หรือ โรนัลโด นักฟุตบอลทีมชาติโปรตุเกส และสโมสร เรอัล มาดริด เป็นตัวแทนสินค้า รถโตโยต้าวีโก้ และ ยาสระผมขจัดรังแค เคลียร์ เป็นต้น
4.      การเป็นผู้สนับสนุนการถ่ายทอดสด (Media Sponsorship) ลักษณะการสนับสนุนแบบนี้เป็นทีต้องการของผู้จัดการแข่งขันทุกชนิดกีฬาเพราะเป็นแหล่งรายได้ทีสำคัญขององค์กรกีฬาต่างๆ ทีจะทำเงินได้อย่างมหาศาล เพราะปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจสื่อสาร ( Media Broadcaster ) มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเพราะรัฐบาลต้องการเปิดเสรีของธุรกิจสื่อสารให้ไม่มีการผูกขาด ดั้งนั้นสถานีโทรทัศน์จึงเกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะช่องสถานีกีฬา ทั้งรูปแบบจานดาวเทียมและกล่องเคเบิ้ลทีวีแบบสมาชิกรายเดือน รายการกีฬาจัดเป็นรายการทีประชาชนทั้งประเทศสนใจติดตามชมอย่างมากมาย ทำให้ธุรกิจทีมีมูลค่ามากทีสุด ( ติดตามตอนต่อไป )

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จะเลือกเรียน Sport Management ดีไหม?

Sport Management

ศัพท์คำนี้กำลังเป็นทีนิยมพูดถึงกันในประชาคมกีฬาว่าเป็นองค์ความรู้ ทีจะช่วยพัฒนาทั้งองค์กรกีฬาและบุคคลากรด้านกีฬาของทั้งภาครัฐและเอกชนทีต้องดูแลเเละรับผิดชอบเรื่องกีฬาในประเทศไทยให้สามารถยกระดับการวางแผนเเละการทำงานให้วงการกีฬาในประเทศไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และจะสามารถเสริมสร้างบุคคลากรให้แก่ในธุรกิจกีฬาทีกำลังขยายตัว เช่น ธุรกิจฟุตบอล ธุรกิจสถานออกกำลังกาย เป็นต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วการจะเป็นนักจัดการ ( Manager ) ในธุรกิจกีฬานั้นอาจไม่จำเป็นต้องจบ สาขาการจัดการกีฬาโดยตรงก็ได้ เพราะการจัดการทีดี นั้นสามารถประยุกต์องค์ความรู้ได้จากการเรียนในสาขาอื่นๆ เช่น สาขาบริหารธุรกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาศึกษาศาสตร์ ฯลฯได้เช่นกัน

ดั้งนั้นผู้ทีสนใจจะเรียนควรจะต้องเข้าใจหลักสูตร สาขาการจัดการกีฬา ( Sport Management ) ว่าโดยทั่วไปหลักสูตรจะปูพื้นฐานความรู้ด้านการจัดการกีฬาแบบกว้างๆให้เข้าใจพื้นฐานการเป็น นักจัดการ ( Manager ) ทีดี จะต้องมีความเข้าใจ เรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resources Management ) ขบวนการจัดการ ( Management Process ) ซึ่งประกอบด้วย Planning, Organizing, Leading, and Evaluating เพื่อทีจะปฏิบัติภาระกิจต่างๆทีได้รับมอบหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หมายถึง การทำเรื่องยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่าย แต่หลักสูตรก็จะเสริมวิชาเลือกต่างๆ ให้อีกมากมายเพื่อทีทำให้ผู้ทีเรียนสาขาการจัดการกีฬามีความแตกต่างจากสาขาการจัดการทั่วๆไปในคณะอื่นๆ เช่น
1. วิชาการตลาดและโฆษณาธุรกิจกีฬา ( Sport Marketing & Advertising )
2. วิชาการจัดการกิจกรรมเเละการแข่งขันกีฬา ( Sport Events Management )
3. วิชาการสื่อสารและการถ่ายทอดสด ( Sport Communication & Broadcasting )
4. วิชาการขายสินค้าและการหาผู้สนับสนุน ( Sport Sales, Sponsorship & Licensed Products )
5. วิชาการบริหารศูนย์กีฬาและการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ( Sport Facility Management )
6. วิชาการจัดการกีฬา การท่องเที่ยวและนันทนาการ ( Sport Tourism & Recreation Management )
7. วิชาการเป็นผู้จัดการสิทธิประโยชน์นักกีฬา ( Athlete Agent )
เป็นต้น

ดั้งนั้นวิชาต่างๆเหล่านี้ทีเเต่ละหลักสูตรเปิดสอน จะเป็นองค์ความรู้เฉพาะทางทีสำคัญเป็นอย่างมากของผู้ทีอยากจะเป็นมืออาชีพในวงการธุรกิจกีฬา ซึ่งการเป็นมืออาชีพในสาขาเหล่านี้มีความต้องการเป็นอย่างมากในกลู่มประเทศอาเซียนเพราะกีฬากำลังเเพร่ขยายอย่างรวดเร็ว ดั้งนั้นการจะเลือกเรียนสาขาการจัดการกีฬานั้นถือว่าเป็นสาขาใหม่ในวงการศึกษาและเรื่องใหม่ต่อผู้จ้างงาน เพราะหลักสูตรทีผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ในมหาวิทยาลัยต่างๆไม่น่าเกินกว่า 4-5 ปีทีผ่านมา ดั้งนั้นผู้ทีอยากจะศึกษาต่อในสาขาการจัดการกีฬาจำเป็นทีต้องศึกษาเเละทำความเข้าใจว่า อะไรคือจุดขายของหลักสูตรของสาขาการจัดการกีฬา ในแต่ละมหาวิทยาลัย เเละอะไรคือองค์ความรู้ทีผู้เรียนจะได้รับเมื่อจบการศึกษาทีจำเป็นเพื่อให้เราสามารถเป็นมืออาชีพในธุรกิจกีฬาได้

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การจัดการกีฬา


ปัจจุบันวงการธุรกิจกีฬากำลังการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากจนทำให้มีการกล่าวถึงโอกาสทีจะใช้กีฬาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ในหลายๆมิติ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารัฐบาลสร้างสถานทีออกกำลังกายให้ประชาชนมากเท่าไร ประชาชนก็จะสนใจการออกกำลังกายมากขึ้นเพราะสะดวก เเละเมื่อเริ่มสนุกกับการอออกกำลังกาย ก็จะต้องซื้ออุปกรณ์สำหรับใช้ในการออกกำลังกาย เช่น จักรยาน รองเท้าวิ่ง ชุดกีฬา เป็นต้น การใช้จ่ายต่างๆ ก็จะกระตุ้นธุรกิจกีฬาทีเกี่ยวข้องให้สามารถจ้างคนงานเพื่อผลิต หรือให้บริการ และกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจกีฬาก็จะมีรายได้เพื่อเสียภาษีทั้งบริษัทและพนักงานดั้งนั้นจึงเกิดวงจรทางเศรษฐกิจขึ้น ทำให้รัฐบาลได้เงินจากการเก็บภาษีเงินได้กลับมาลงทุนได้อีกต่อไป เเต่ส่วนทีสำคัญทีสุดคือ ประชาชนวัยทำงานได้โอกาสในการมีสุขภาพทีดีและไม่ต้องเสียเงินให้กับค่าใช้จ่ายด้านรักษาสุขภาพ รัฐบาลก็ได้ประโยชน์ในการประหยัดเงินงบประมาณประเทศทีต้องสนับสนุนระบบประกันสุขภาพ และทีสำคัญทีสุดคือโอกาสสำหรับเยาวชนก็จะได้ใช้กีฬาเพื่อการหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงจากการชักชวนให้เสพเหล้า บุหรี่ เเละสารเสพติด เป็นต้น

ดั้งนั้นเพื่อให้กลไกทางเศรษฐกิจของธุรกิจกีฬาเดินหน้าอย่างไม่สะดุด จึงจำเป็นทีจะต้องสร้างบุคคลากรเพื่อเข้าไปทำงานในธุรกิจกีฬา ทั้งของภาครัฐบาลและของบริษัทเอกชนอย่างมีระบบ ดั้งนั้นจะเห็นได้ว่ามีสถาบันการศึกษาหลายๆเเห่งได้เปิดหลักสูตร สาขาการจัดการกีฬาขึ้นในคณะทีเเตกต่างกัน เช่น สังกัด คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเรื่องทีดีเพราะอาชีพทีเกี่ยวข้องกับธุรกิจกีฬานั้นมีมากมาย เช่น นักการตลาด นักกายภาพ นักโภขนาการ นักกฎหมาย เป็นต้น

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับกลไกในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทีถูกต้องจึงอยากจะสร้างบล็อกเพื่อใช้ในการการอธิบายศัพท์ภาษาอังกฤษ ทีใช้อยู่ในธุรกิจกีฬาอย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาสาขาวิชาชีพด้านการจัดการกีฬา sport management ให้เป็นทียอมรับต่อไปในอนาคต