สวัสดี ครับ
ผมไม่ได้เขียนอะไร มาหลายเดือนแล้ว เพราะก้มหน้าก้มตาหาแนวคิดหนังสือทีอยากจะเขียน จนเพิ่งสรุปได้แล้ว ก็อดใจรอปลายปีนี้ น่าจะเขียน จบเล่ม เพื่อจะใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนในะดับมหาวิทยาลัย ทีเปิดสอน สาขา การจัดการกีฬา
วันนี้จึงอยากจะอธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า sport management กับ sports management ซึ่งถ้ามองแบบหลักไวยากรณ์ อาจคิดว่า เป็นรูป เอกพจน์ กับ พหูพจน์ เท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช้แบบนั้น เพราะการใช้คำทีแตกต่างจะทำให้ความหมายแตกต่างกันไปเลย ดั้งนั้น จึงเป็นเรื่องทีอยากจะเขียน
ปัจจุบัน สาขาการจัดการกีฬา ( sport management ) มีเปิดสอนกันอย่างแพร่หลายในระดับอุดมศึกษาแต่ก็มีคำถามว่าควรใช้คำภาษาอังกฤษทีเหมาะสมอย่างไร ระหว่าง sport หรือ sports ? เพื่อทำให้ไม่สับสนในการเลือกวิชาทีจะเปิดสอนกัน และจะได้เข้าใจความหมายไปแนวทางเดียวกับต่างประเทศ เวลาพัฒนาหลักสูตร ปริญญา ระดับ ตรี โท เอก จะได้ไม่สับสนในบริบท
เวลาทีนักวิชาการต่างประเทศ ใช้คำว่า sport management จะหมายถึง การศึกษาแบบครอบคลุมอย่างกว้าง ในหลายๆบริบททีเกี่ยวกับทฤษฎีและพื้นฐานทีเกี่ยวข้องกับขบวนการการจัดการกีฬาทั่วๆไป เช่น การโฆษณา การตลาด กฏหมาย การเงิน การหาผู้สนับสนุน และอื่นๆ เป็นต้น
ในทางตรงข้ามกัน ถ้านักวิชาการต่างประเทศใช้คำว่า sports management จะหมายถึง การศึกษาบริบททีจะสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องการจัดการทีเกี่ยวข้องกับกีฬาแต่ละประเภทอย่างลึกและเฉพาะเจาะจงอาจารย์ผู้สอนต้องมีประสพการณ์โดยตรงในกีฬานั้นๆ เช่น การจัดการกีฬาบาสเก็ตบอล การจัดการกีฬาฟุตบอล การจัดการกีฬาเทนนิส การจัดการกีฬากลอฟ์ เป็นต้น
ดั้งนั้นหลักสูตรทั่วไปของ สาขาการจัดการกีฬา ในประเทศไทยควรใช้ภาษาอังกฤษทีเหมาะสมคือ sport management เพราะทุกหลักสูตรมุ่งเน้นการให้ความรู้เรื่องการจัดการกีฬาแบบกว้างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจพื้นฐานและขอบเขตของบริบทต่างๆ ด้านการจัดการกีฬาทีควรรู้แต่ไม่ต้องลงลึกในเฉพาะกีฬา
แต้่ถ้าหลักสูตรทีเปิดสอนต้องการเปิดสอนวิชาเฉพาะกีฬาๆ ไป โดยมีความต้องการทีจะผลิตบัณฑิตเพื่อสามารถประกอบวิชาชีพโดยตรงในประเภทกีฬาชนิดหนึ่ง ชนิดใดได้เลย เช่น การจัดการกีฬากลอฟ์ หรือ การจัดการกีฬาฟุตบอล เหมือนอย่างหลักสูตรที มหาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ก็ควรใช้ภาษาอังกฤษว่า sports management ถึงแม้นว่า จะเปิดสอนกีฬาเดียวก็สามารถใช้รูปพหูพจน์ได้เลย เพราะในอนาคตอาจจะเพิ่มสาขากีฬาอื่นๆ ทีธุรกิจกีฬาต้องการได้อีก แต่จะทำให้การออกแบบหลักสูตรวิชาพื้นฐานและวิชาเฉพาะกีฬาได้อย่างชัดเจนชัดเจนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี เป็นต้น
หวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์ และต่อจากนี้ไป ก็ช่วยๆกันใช้ให้ถูกต้องด้วยกันนะครับ เจอกับ คำว่า administration กับ management ในครั้งต่อไป